เจาะลึกพฤติกรรมการนอนหลับแบบไหน ที่ส่งสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังเผชิญกับปัญหาสุขภาพ

5
2049
พฤติกรรมการนอนหลับแบบไหน ที่ส่งสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังเผชิญกับปัญหาสุขภาพ

“ปัญหานอนไม่หลับ” กลายเป็นปัญหาใหญ่สำหรับคนยุคใหม่ และพบมากขึ้นเมื่ออายุเยอะขึ้น ความผิดปกติที่เกิดจากการนอน หากปล่อยไว้เป็นเวลานาน ผลที่ตามมานอกจากจะทำให้ร่างกายพักผ่อนได้ไม่เต็มที่แล้ว ยังกระทบต่อสุขภาพและจิตใจอีกด้วย อาการนอนไม่หลับ ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะช่วงเริ่มต้นของกระบวนการนอนหลับเท่านั้น แต่ยังมีปัญหาอื่นที่รบกวนระหว่างการนอนเช่นกัน มาดูกันว่าพฤติกรรมการนอนหลับแบบไหน อาจเป็นสัญญาณเตือนความผิดปกติบางอย่างที่ร่างกายกำลังพยายามบอกคุณอยู่

6 พฤติกรรมการนอนหลับแบบไหน ที่ส่งสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังเผชิญกับปัญหาสุขภาพ

  1. ตื่นกลางดึกบ่อย ตื่นแล้วหลับต่อยาก

การตื่นกลางดึกอาจจะไม่ใช่เรื่องผิดปกติซะทีเดียว แต่ถ้าตื่นกลางดึกบ่อย จนกลายเป็นนอนไม่หลับเป็นประจำ พฤติกรรมเช่นนี้เป็นรูปแบบหนึ่งของอาการนอนไม่หลับ (Insomnia) ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ อาจเกิดจากความเครียดเรื้อรัง กลุ่มอาการขาไม่อยู่สุข โรคกรดไหลย้อน หรืออาหารไม่ย่อย แต่ถ้าตื่นอย่างต่อเนื่องหรือนอนไม่หลับเลยตลอดทั้งคืน สาเหตุอาจมาจากความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า หากมีอาการนอนไม่หลับติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเป็นหัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมองได้

  1. ลุกเข้าห้องน้ำบ่อยจนรบกวนการนอน

ปกติการนอนสามารถเกิดได้ต่อเนื่อง 6-8 ชม. โดยที่ไม่ต้องลุกมาปัสสาวะเลย หลายคนที่ต้องปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน  อาจทำให้เกิดอาการง่วงเพลียช่วงกลางวันได้ ต้องหาว่าสาเหตุที่แท้จริงเกิดจากอะไร หากสังเกตพฤติกรรมการนอนหลับของตัวเองและพบว่า ดื่มน้ำมากเกินไปก่อนเข้านอน ก็พยายามดื่มให้น้อยลง แต่ถ้าลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำมากกว่า 2 ครั้งต่อคืน นั่นอาจหมายถึงภาวะเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน เกิดจากการที่มีน้ำตาลในเลือดสูง ไตไม่สามารถกรองน้ำตาลส่วนเกินกลับเข้าสู่เลือด จึงปล่อยออกมาพร้อมปัสสาวะ นอกจากนี้อาจมีสาเหตุจาก การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะ หรือโรคไต 

  1. นอนกรนบ่อยๆ ตื่นมาแล้วรู้สึกเพลีย รู้สึกปวดหัวในตอนเช้า

ลองสังเกตตัวเองดูว่า หากมีอาการนอนกรน นอนอ้าปากค้างเพื่อหายใจตอนที่ตื่น ตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกเจ็บคอและปากแห้ง มีอาการปวดหัวหลังจากตื่นตอน ง่วงนอนตอนกลางวัน และระหว่างวันรู้สึกไม่มีสมาธิเลย หากคุณมีอาการเหล่านี้ แปลว่าคุณกำลังเสี่ยงกับ “ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ” เป็นภาวะความผิดปกติอย่างหนึ่งของการหายใจที่เกิดขึ้นระหว่างนอนหลับ ซึ่งการหยุดหายใจนี้เองที่ทำให้คุณตื่น พบได้ในทุกช่วงอายุ มักพบมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อโรคความดันโลหิตสูง เส้นเลือดตีบ ซึ่งเป็นอันตราย และอาจทำให้เกิดความผิดปกติอื่นๆ ตามมาจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ที่น่ากังวลคือ หลายคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองเป็น หากมีอาการตามที่กล่าวข้างต้น ควรรีบหาวิธีแก้ไขหรือพบแพทย์

  1. ตื่นมาไม่สดชื่น ง่วงนอนตลอดเวลา ทั้งๆ ที่กลางคืนนอนมาเต็มอิ่ม

คุณภาพของการนอนหลับไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนชั่วโมง อยู่ที่ช่วงเวลาในการเข้านอนและนอนหลับลึกเพียงพอหรือไม่ บางครั้งเรานอนมากกว่า 8 ชั่วโมง แต่กลับไม่รู้สึกสดชื่น นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ แถมยังง่วงนอนมากผิดปกติ นอกจากพฤติกรรมการนอนดึกที่ทำให้นอนไม่เพียงพอแล้ว ปัญหาสุขภาพบางอย่างก็สามารถก่อให้เกิดอาการง่วงนอนได้เช่นกัน อย่างโรคโลหิตจางจากภาวะขาดธาตุเหล็ก ทำให้เกิดอาการเมื่อยล้าและอ่อนเพลียได้ ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ ซึ่งทำให้รู้สึกเหนื่อยง่าย หรืออาจเป็นหนึ่งในอาการโรคลมหลับ เป็นโรคเกี่ยวกับการนอนหลับที่มีอาการง่วงนอนตลอดเวลา  และหลับในช่วงเวลาต่างๆอย่างผิดปกติ

  1. นอนละเมอ

ภาวะนี้เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นขณะหลับ  โดยมีอาการแสดงออกในหลายรูปแบบของพฤติกรรม ไม่มีอันตรายอะไรต่อร่างกายร้ายแรงมาก อาจส่งผลให้นอนหลับไม่ต่อเนื่อง และอาการจะเป็นมากขึ้น เมื่ออดหลับอดนอนเป็นเวลานาน ในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว อาจมีความเสี่ยงในการนอนละเมอ จากอาการข้างเคียงของโรคต่างๆ ที่เป็นอยู่ สาเหตุของการนอนละเมอยังไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าเกิดจากอะไร แต่หากรบกวนคุณภาพชีวิต หรือเริ่มได้รับอันตรายจากการนอนละเมอ ควรปรึกษาแพทย์ บางรายที่มีอาการรุนแรงมากอาจต้องใช้ยาในการรักษา

  1. ติดการดูทีวี เล่นมือถือ จนนอนหลับคาหน้าจอ

หนึ่งในพฤติกรรมที่ไม่ควรทำก่อนเข้านอน เป็นการรบกวนการพักผ่อนของร่างกายโดยที่คุณไม่รู้ตัว คนที่นอนไม่หลับอยู่บ่อยๆ มักจะใช้ทีวีเป็นทางออก เพราะเชื่อว่าจะช่วยให้ง่วงนอนเร็วขึ้นหรือหลับง่ายขึ้น  ในทางกลับกัน เป็นการทำให้สมองตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาและไม่ยอมพักผ่อน บางทีนี่อาจเป็นเพราะว่าลึกๆ แล้ว คุณกำลังมีความวิตกกังวลกับอะไรบางอย่าง เช่น นอนไม่ค่อยหลับเมื่อต้องนอนเพียงลำพัง รู้สึกเหงาเมื่อต้องอยู่คนเดียว การจดจ่ออยู่กับหน้าจอทีวีจนดึกดื่นวันละหลายชั่วโมง ส่งผลให้ระยะเวลาพักผ่อนก็จะลดลงไปด้วย กลายเป็นว่าต้องอดนอนไปโดยปริยาย ในระยะยาวก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาอย่างแน่นอน 

คุณภาพการนอนหลับที่ดี ย่อมส่งผลต่อคุณภาพชีวิตเช่นกัน หากการนอนหลับของคุณถูกรบกวนมานานกว่า 1 เดือน นอกจากจะส่งผลกระทบต่ออารมณ์และการใช้ชีวิตแล้ว ยังส่งผลต่อการทำงานของสมอง ทั้งความทรงจำในระยะสั้นและระยะยาวอีกด้วย ควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ เพื่อรับคำปรึกษาในการปรับปรุงคุณภาพการนอนหลับของตัวเอง เพราะสัญญาณเตือนบางอย่าง อาจนำไปสู่โรคร้ายที่คาดไม่ถึงก็ได้ 

ติดตามข่าวสารต่างๆ ผ่านทางโซเชียลมีเดียได้ที่นี่ค่ะ

พฤติกรรมการนอนหลับแบบไหน ที่ส่งสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังเผชิญกับปัญหาสุขภาพ
6 พฤติกรรมการนอนหลับแบบไหน ที่ส่งสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังเผชิญกับปัญหาสุขภาพ

สนใจผลิตภัณฑ์อาหารเสริมนวัตกรรมจากธรรมชาติ บรรเทาปัญหานอนไม่หลับ! นอนหลับยาก! สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: https://healthykare.com/product/อาหารเสริมนอนหลับ-zzzzspins/?ref=990028

ที่มา :  www.sleepcenterchula.org

5 ความคิดเห็น

  1. […] โรคซึมเศร้ามักมีอาการแสดงที่แตกต่างกันครับ แต่อาการเด่น ๆ ที่ทำให้เราแยกผู้ป่วยโรคซึมเศร้าออกจากภาวะซึมเศร้าโดยทั่วไปคือ ผู้ป่วยมักรู้สึกเศร้า หดหู่ และวิตกกังวล มีความคิดว่าตนเองไร้ค่าไม่มีความหมายต่อคนอื่น รวมถึงรู้สึกโดดเดี่ยวสิ้นหวังและหงุดหงิดง่าย โดยอารมณ์เหล่านี้จะมีความรุนแรงและปรากฏยาวนานกว่าภาวะซึมเศร้าตามปกติ เพราะความผิดปกติที่เกิดขึ้นทางจิตใจนี้เองบ่อยครั้งเราจะพบว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้าก็มีความผิดปกติทางร่างกายเกิดขึ้นร่วมด้วยเช่น รู้สึกอ่อนล้า เจ็บปวดตามร่างกาย มีความผิดปกติในการนอนหลับบางคนหลับยากแต่บางคนนอนหลับมากเกินไป ไม่มีสมาธิในการทำงาน หมดความสนใจในเรื่องที่ตนเองเคยชอบ มีพฤติกรรมแยกตัวเองออกจากสังคม ไม่สุงสิง ไม่พูดคุยกับใคร และในรายที่เป็นหนักมักมีความคิดจะฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตนเอง […]

  2. […] การนอนหลีบให้เพียงพอก็ยังคงเป็นหนึ่งในเคล็ดลับที่สำคัญที่ช่วยทำให้คุณคลายความเหนื่อยล้าได้เช่นกันครับ เพราะในช่วงเวลาแห่งการนอนหลับนอกจากจะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายได้มีโอกาสซ่อมแซมฟื้นฟูตัวเอง ก็ยังเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายจะได้สะสมพลังงานเพื่อไว้ใช้งานสำหรับกิจกรรมในวันรุ่งขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ที่มีปัญหาเรื่องการนอนจึงรู้สึกอ่อนเพลียอยู่แทบจะตลอดเวลาครับ แต่กระนั้นการนอนหลับที่ดีใช่ว่าคุณจะนอนให้ครบ 8 ชั่วโมงก็เป็นอันใช้ได้ แต่คุณจำเป็นต้องคำนึงถึงประสิทธิภสาพในการนอนด้วยเช่นการเข้านอนแต่หัวค่ำและนอนหลับสนิทไปจนถึงเช้า การนอนเช่นนี้จึงจะถือว่าเป็นการนอนหลับที่มีประสิทธิภาพและทำให้คุณมีเช้าวันใหม่ที่สดชื่นแจ่มใสครับ […]

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here