เครียดไปแล้วได้อะไร: 10 โรคร้ายจากความเครียดที่พร้อมจะมาเยือนคุณ

10 โรคร้ายจากความเครียด

ไม่มีใครไม่เคยประสบปัญหาภาวะเครียดครับ ในแต่ละวันเราต้องพบเจอกับภาวะความเครียดในหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นหน้าที่การงาน การดำรงชีวิตประจำวัน หรือแม้กระทั่งการติดต่อพบปะผู้คนเพื่อทำการตกลงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่สำคัญในชีวิต สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่สร้างความกดดันและนำไปสู่ความเครียดได้ทั้งสิ้น เชื่อไหมครับว่าในชีวิตประจำวันของแต่ละคนเราต้องพบเจอความเครียดที่มากบ้างน้อยบ้าง บางครั้งมันก็มาให้เรารู้ตัวแต่บางทีมันก็มาในรูปแบบที่เราไม่รู้ตัวครับ ดังนั้นหากใครรู้ว่าตัวเองมีความเครียดและมีรู้วิธีที่จะรับมือกับความเครียดเหล่านั้นได้ ชีวิตและสุขภาพของคุณก็จะไม่ได้รับผลกระทบจากความเครียดที่โหมกระหน่ำสักเท่าใดนัก แต่หากคุณไม่รู้จักวิธีการรับมือกับความเครียดที่ดีพอ สิ่งที่จะมาเยี่ยมเยียนคุณนอกจากความทุกข์ใจก็คงจะหนีไม่พ้นโรคร้ายที่จะเข้ามาบั่นทอนสุขภาพของคุณอย่างไม่ต้องสงสัย ในวันนี้เราจะมาเตือนคุณครับว่าหากยังคงไม่สามารถรับมือกับความเครียดได้ 10 โรคร้ายจากความเครียดใดบ้างที่จะเข้ามาเยือนคุณ

10 โรคร้ายจากความเครียดที่พร้อมทำลายสุขภาพที่จะเข้ามาหาคุณเมื่อคุณเครียดมากเกินไป

1. นอนไม่หลับ

หากใครคิดว่าอาการนอนไม่หลับไม่ใช่สิ่งน่ากลัว คุณกำลังคิดผิดอย่างมหันต์ อาการนอนไม่หลับเป็นอาการแรก ๆที่คุณจะเป็นเมื่อคุณเกิดความเครียดสะสม จิตใจที่ฟุ้งซ่านคิดนู่นคิดนี่จะทำให้คุณไม่อาจข่มตาหลับได้อย่างสนิท และเมื่อคุณนอนไม่หลับติดต่อกันเป็นระยะเวลานานภูมิต้านทานของคุณก็จะลดลงเพราะร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอและไม่มีโอกาสได้ฟื้นฟูตัวเองเลย ภูมิต้านทานที่ลดลงก็ไม่ต่างจากการเปิดประตูเชื้อเชิญโรคร้ายให้เข้ามาเยือนคุณ

2. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและตามเนื้อตัว

เมื่อเราเกิดความเครียดสะสมอย่างต่อเนื่อง ร่างกายเราจะตอบสนองต่อความเครียดอย่างหนึ่งขึ้นมาโดยที่เรามักจะไม่ค่อยรู้ตัวนั่นก็คือ “กล้ามเนื้อทั่วร่างกายจะเกร็งและตึงตัวมากกว่าปกติ” ผลที่ตามมาก็คือคุณจะเริ่มปวดเมื่อยตามเนื้อตัวโดยเฉพาะบริเวณคอ บ่า ไหล่และหลัง ยิ่งหากภาวะงานของคุณทำให้เกิดความเครียดอยู่เสมออาการปวดเมื่อยก็จะยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และที่สุดมันก็จะไปรบกวนกิจวัตรประจำวันของคุณอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

3. ระบบทางเดินอาหารแปรปรวน

มีใครบ้างที่เครียดมาก ๆแล้วยังทานอาหารได้เป็นปกติ คำตอบคือ “ไม่มี” ครับ เมื่อใดที่เราเกิดความเครียดความอยากอาหารก็จะลดลง จะทานจะดื่มอะไรเราก็จะไม่รู้สึกถึงรสชาตอและความอร่อยที่ปลายลิ้น เราจะทานอาหารได้น้อยลง นอกจากนี้เมื่อเราเกิดภาวะเครียดร่างกายก็จะมีปฏิกิริยาตอบสนองที่ผิดปกติไปจากเดิมครับ เช่นอาหารที่ทานเข้าไปไม่ย่อย ผลที่ตามมาก็คือจะเกิดอาหารท้องอืด จุกเสียดแน่นเฟ้อได้ง่ายและนอกจากนี้ความเครียดยังส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกได้เช่นกัน

4. แผลในกระเพาะอาหาร

นอกจากจะท้องผูกหรืออาหารไม่ย่อย บ่อยครั้งที่เราพบว่าผู้ที่มีภาวะความเครียดสะสมอยู่ตลอดเวลากระเพาะอาหารจะหลั่งสารคัดหลั่งออกมามากเกินกว่าปกติเช่นพวกน้ำย่อย ประกอบกับเมื่อไม่รู้สึกอยากอาหารทำให้ทานอาหารได้น้อยลง น้ำย่อยที่ออกมามากเกินไปก็จะส่งผลทำให้กระเพาะอาหารเป็นแผลได้ครับ ซึ่งโรคแผลในกระเพาะอาหารเป็นอีกหนึ่งโรคที่สร้างความทรมานให้กับผู้ที่เป็นโรคนี้มาก

5. ความดันโลหิตสูง

ความเครียดส่งผลต่อความดันโลหิตในร่างกายครับ ผู้ที่มีภาวะความเครียดอยู่เสมอจะส่งผลให้หลอดเลือดทั่วร่างกายหดตัวทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะอื่น ๆในร่างกายได้น้อยลง ทำให้หัวใจต้องบีบตัวมากขึ้นเพื่อพยายามเอาชนะแรงต้านในหลอดเลือดที่เพิ่มสูงขึ้นจากการหดตัวของหลอดเลือดส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้นครับซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้นานก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้ในที่สุด

6. โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

ผลจากการที่หลอดเลือดหดตัวนอกจากจะทำให้เกิดความดันโลหิตสูงยังทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจเกิดการหดตัวเช่นกันทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจน้อยลงและส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจเกิดภาวะขาดเลือด หากปล่อยทิ้งไว้นานจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมากขึ้นเรื่อย ๆทำให้เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้

7. โรคหลอดเลือดสมอง

ไม่ว่าภาวะความเครียดจะส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูงจากหลอดเลือดหดเกร็งหรือการขาดเลือดจากที่เลือดไปลี้ยงสมองได้น้อยลงก็ตาม แต่ผลจากความผิดปกติทั้งสองมีโอกาสทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ทั้งสิ้นครับไม่ว่าจะเป็นหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก ซึ่งหากเป็นแล้วจะทำให้เกิดภาวะของอัมพาตครึ่งซีกตามมาได้ในที่สุด ผู้ป่วยที่ป่วยเป็นอัมพาตครึ่งซีกหลายรายก็มาจากสาเหตุของความเครียดที่สะสมจนท้ายที่สุดก็ส่งผลเสียต่อร่างกายครับ

8. เบาหวาน

มีงานวิจัยหลายงานวิจัยบ่งชี้ครับว่าผู้ที่มีภาวะความเครียดอยู่เป็นประจำจะหลั่งฮอร์โมนที่ไม่ดีออกมา ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้จะไปส่งผลกระทบต่อฮอร์โมนอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของเราครับ ทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดทำได้ไม่ค่อยดีและท้ายที่สุดหากปล่อยไว้นานก็มีโอกาสทำให้เกิดโรคเบาหวานตามมาได้

9. มะเร็ง

ฮอร์โมนทุกชนิดที่หลั่งออกมาในช่วงที่เราเกิดความเครียดล้วนแล้วแต่ส่งผลทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายเราลดลงครับ นอกจากนี้หลายงานวิจัยในหนูทดลองยังพบว่าหากหนูถูกกระตุ้นให้เกิดความเครียดอยู่ตลอดเวลาจะทำให้เซลล์ในร่างกายเติบโตผิดปกติและนำไปสู่การกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ในที่สุด ดังนั้นผู้ที่มีความเครียดอยู่เสมอจึงมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งสูงกว่าคนปกติ

10. โรคซึมเศร้า

เมื่อสมองหลั่งสารที่เกิดความผิดปกติอยู่เสมอในภาวะความเครียด สารเคมีในสมองจะเกิดความไม่สมดุลอันนำไปสู่การพัฒนาไปเป็นโรคซึมเศร้าได้ในที่สุดครับ ผู้ที่มีภาวะของโรคซึมเศร้าอยู่ในความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายสูงมาก ดังนั้นหากคุณปล่อยให้ตนเองมีความเครียดสะสมอยู่เป็นระยะเวลานานและรู้สึกกังวลและวิตกกังวลอยู่ตลอด ก็มีโอกาสที่คุณจะกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้ในที่สุด

ความเครียดไม่เคยส่งผลดีต่อสุขภาพครับ แม้จะไม่เห็นความผิดปกติในระยะสั้นแต่หากคุณปล่อยทิ้งไว้นานจนเกินไป ปัญหาสุขภาพในระยะยาวจะมาเยือนคุณอย่างไม่ต้องสงสัยครับ มีวิธีมากมายครับที่คุณจะใช้รับมือกับปัญหาความเครียดที่เกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยปรึกษากับเพื่อนหรือคนรู้จัก การออกกำลังกาย การท่องเที่ยวพักผ่อนเพื่อผ่อนคลายจากความตึงเครียดที่เกิดขึ้น แต่หากที่สุดแล้วคุณไม่สามารถจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้นได้ “การปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา”ก็เป็นวิธีที่จะช่วยให้คุณรับมือกับปัญหาเหล่านี้ได้ครับ

ติดตามสาระดี ๆ ทางช่องทางโซเชี่ยลได้ที่นี่

10 โรคร้ายจากความเครียด

6 ความคิดเห็น

  1. […] “ชีวิตไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ” คำเปรียบเปรยที่บ่งบอกว่า “ไม่มีอะไรง่ายไปเสียทุกอย่าง ชีวิตต้องมีอุปสรรคบ้าง” แต่เราก็นึกภาพไม่ออกอยู่ดีว่า ถ้ามีกลีบกุหลาบโรยตลอดเส้นทางเดิน เราจะรู้สึกอย่างไร ความสวยงามที่เห็น คือ สิ่งที่เราต้องการอย่างแท้จริงหรือไม่ เพราะเป้าหมายในการชีวิตของแต่ละคนนั้นต่างกัน ทุกครั้งที่ตัวเลขอายุขยับขึ้น คุณก็จะเริ่มรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย (แม้จะน้อยนิดก็ตาม) แต่หากวันใดที่เจอกับความยากลำบากจนเครียด จิตตกและหดหู่ แม้แต่กุหลาบทั้งสวนก็ช่วยเยียวยาอะไรไม่ได้ ขอให้คุณตั้งสติ สูดลมหายใจเข้าลึกๆ เพราะนี่คือ สิ่งที่คุณกำลังจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ “ข้อดีของความยากลำบาก”  […]

  2. […] เมื่อความเครียดจู่โจม นอกจากจะส่งผลเสียต่อระบบต่างๆ ในร่างกายแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อการลกน้ำหนักเช่นกัน ในขณะที่ร่างกายตกอยู่ในสถานการณ์ที่ตึงเครียด จะเกิดการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ออกมา เพื่อต่อสู้กับความเครียดและฟื้นฟูร่างกาย ซึ่งจะลดลงเมื่อสภาวะตึงเครียดหายไป แต่หากมีความเครียดเรื้อรัง ก็จะส่งผลให้ระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลสูงขึ้น ร่างกายจึงต้องการพลังงานจำนวนมาก เพื่อปลุกสมองให้ตื่นตัว เราจึงรู้สึกหิวง่ายกว่าปกติ อยากทานอะไรที่หวานๆ มันๆ อย่างอาหารจำพวกแป้ง อาหารแคลอรี่สูง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้อ้วนขึ้นโดยไม่รู้ตัว นอกจากนี้ฮอร์โมนชนิดนี้ยังสั่งการตรงไปที่เซลล์ไขมัน เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของเซลล์ไขมัน และสะสมบริเวณพุงมากขึ้น ยิ่งเครียดยิ่งลดน้ำหนักไม่ได้ พอลดไม่ได้ก็ยิ่งเครียดหนักเข้าไปอีก ถ้าต้องการให้การลดน้ำหนักเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพก็ต้องหยุดวงจรนี้ซะ!   […]

  3. […] ความเครียดและความวิตกกังวลคือต้นเหตุที่ทำให้ร่างกายของคุณมความเหนื่อยล้า เพราะยิ่งเราเครียดร่างกายเราจะยิ่งใช้พลังงานมากขึ้นตามไปด้วย จึงไม่แปลกครับที่จะทำให้เรารู้สึกเหนื่อยล้าและหมดเรี่ยวแรงที่จะทำงานได้ครับ คุณต้องเรียนรู้วิธีการที่จะกำจัดความเครียดนี้ออกไปเช่นการพักผ่อน การบริหารจัดการความเครียดอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะความเครียดนอกจากจะทำให้คุณรู้สึกอ่อนเพลียก็ยังวเป็นต้นเหตุของโรคร้ายที่คาดไม่ถึงครับ […]

  4. […] ความเครียดแทบจะเป็นเรื่องปกติที่คนในยุคนี้ต้องเผชิญครับ ด้วยเพราะหน้าที่การงานที่มาพร้อมกับความรับผิดชอบที่มากขึ้น เรื่องราวส่วนตัวที่ต้องจัดการหรือปัญหาต่าง ๆที่แต่ละคนต้องเจอครับ สิ่งเหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดความตึงเครียดขึ้นได้มากเลยทีเดียว แต่กระนี้นการที่คุณแบกรับความตึงเครียดเอาไว้ตลอดเวลาย่อมไม่เป็นผลดีต่อคุณในระยะยาวเลย ทั้งเรื่องของสุขภาพที่คุณอาจต้องเผชิญความเสี่ยงของโรคร้ายที่มาพร้อมกับความเครียดครับ ดังนั้นการบริหารจัดการและพยายามรับมือกับความตึงเครียดจึงเป็นสิ่งที่คุณจำเป็นต้องทำ และหนึ่งในวิธีการที่จะช่วยให้คุณผ่อนคลายจากความเครียดได้ดีที่สุดย่อมหนีไม่พ้นการหากิจกรรมดี ๆมาทำเพื่อผ่อนคลายจากความเครียดครับ สำหรับบทความนี้เรามี 7 กิจกรรมที่ช่วยขจัดความเครียดมาแนะนำครับ […]

  5. […] 2. การพูดคุยบำบัดทางจิต เป็นวิธีการที่ได้ผลดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยทีมีอาการไม่รุนแรง ซึ่งนักจิตบำบัดจะช่วยบำบัดผู้ป่วยเพื่อให้มีทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อม ต่อสิ่งต่าง ๆ ดีขึ้นปรับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ช่วยให้ผู้ป่วยรับมือกับปัญหาความเครียดได้ดีขึ้น […]

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here