ภัยเงียบที่คุณคาดไม่ถึงกับ 9 โรคร้ายที่มาพร้อมกับอาการนอนไม่หลับ

6
2643
9 โรคร้ายที่มาพร้อมกับอาการนอนไม่หลับ

การนอนหลับมีความสำคัญต่อสุขภาพอย่างมาก เป็นช่วงเวลาที่ร่างกายได้ซ่อมแซม พักฟื้นตัวเอง และสะสมพลังงานไว้ใช้ในวันถัดไป แต่กลับเป็นเรื่องที่หลายคนไม่ให้ความสำคัญ ลองสังเกตุว่า วันไหนที่เรานอนไม่พอ สมองมักจะไม่ค่อยแล่น การตัดสินใจช้าลง สภาวะทางอารมณ์ก็ไม่ค่อยปกตินัก หากอาการนอนไม่หลับกลายเป็นปัญหาใหญ่สำหรับชีวิตคุณ ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น ยังเป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคร้ายบางอย่างที่คุณเองอาจคาดไม่ถึงเช่นกัน จะมีโรคอะไรบ้างนั้น มาดูกันค่ะ

9 โรคร้ายที่มาพร้อมกับอาการนอนไม่หลับ

  1. ระบบการย่อยอาหาร ระบบขับถ่ายทำงานผิดปกติ

เมื่อร่างกายได้รับการพักผ่อนไม่เพียงพอ ย่อมส่งผลให้ระบบการทำงานต่างๆ ภายในร่างกายแปรปรวน เพราะร่างกายไม่สามารถฟื้นฟูระบบการทำงานได้ดีพอ ยิ่งใครที่ชอบทำงานดึกๆ หิวช่วงดึก การทานอาหารไม่ตรงเวลา ส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติ อาจมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อตามมา เสี่ยงต่อการเป็นกรดไหลย้อน และยังกระทบต่อระบบขับถ่าย เกิดอาการท้องผูก ขับถ่ายไม่เป็นเวลา หรือมีอาการปวดท้องแบบจุกเสียดร่วมด้วย

  1. โรคหัวใจและหลอดเลือด 

หากภาวะนอนไม่หลับคุกคามชีวิตมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นระยะเวลานาน อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนของระบบหัวใจและหลอดเลือดได้เช่นกัน โดยธรรมชาติเมื่อเวลาที่เราตื่น โปรตีนจะเกิดการสะสมที่หัวใจ  แต่หากเรานอนไม่หลับ หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ โปรตีนเหล่านี้ก็จะยิ่งเข้าไปเกาะที่หัวใจมากขึ้น จนทำให้เกิดอาการเส้นเลือดอุดตันได้ มีโอกาสเสี่ยงที่ความดันโลหิตจะพุ่งสูงขึ้น และความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจมากถึง 2 เท่า รวมถึงโรคอื่นๆ ตามมา

  1. โรคมะเร็งลำไส้

จากการศึกษาพบว่า 47% ของคนที่นอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมง จะมีอาการของมะเร็งลำไส้มากกว่าคนที่นอนหลับอย่างน้อย 7 ชั่วโมงขึ้นไป ประกอบกับวิถีชีวิตคนเมืองที่นอนดึกแต่ต้องรีบตื่นเช้าไปทำงาน จนทำให้ต้องละเลยการทานอาหารเช้า ซึ่งถือเป็นมื้อที่สำคัญมากต่อร่างกาย แถมบางคนยังเลือกรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันสูงเป็นประจำแทบทุกวัน เช่น ปาท่องโก๋ หมูปิ้ง หมูทอด และไม่เคยออกกำลังกายเลย แถมยังนอนหลับไม่เพียงพออีก ระบบการทำงานของลำไส้ผิดปกติจนกลายเป็นปัญหาลำไส้อักเสบ ลำไส้อุดตัน และลุกลามกลายเป็นมะเร็งลำไส้ในที่สุด

  1. โรคนอนไม่หลับเรื้อรัง

จากจุดเริ่มต้นของการนอนไม่หลับในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นอาการหลับยาก ตื่นกลางดึกบ่อย หรือหลับไม่สนิทตลอดคืน กินระยะเวลาล่วงเลยนานเป็นเดือน ร่างกายจะยิ่งสะสมความเหนื่อยล้า และเกิดความเครียดตามมา ในช่วงกลางวันเราจึงรู้สึกอ่อนเพลีย ประสิทธิภาพการทำงานลดลง แต่พอตกดึกกลับนอนไม่หลับ เป็นเช่นนี้วนไปเรื่อยๆ จึงมีโอกาสเสี่ยงอย่างมากที่จะเป็นโรคนอนไม่หลับเรื้อรังนั่นเอง

  1. โรคซึมเศร้า

ปัญหาการนอนไม่หลับส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมอง มีความเกี่ยวพันธ์กับโรคซึมเศร้าอย่างเด่นชัด ซึ่งเป็นอาการที่พบได้เป็นอันดับแรก เนื่องจากอาการนอนไม่หลับจะกระทบต่อคุณภาพชีวิตที่แย่ลง ส่งผลต่อระดับสารเคมีในสมอง สาเหตุหนึ่งของโรคซึมเศร้า ในผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้อยู่แล้ว การนอนไม่หลับจะยิ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดภาวะซึมเศร้ารุนแรงขึ้น 

  1. โรคสมองเสื่อม

การพักผ่อนน้อย นอนไม่เต็มอิ่มย่อมส่งผลต่อกระบวนการคิด ความจำ และการตัดสินใจ เสี่ยงต่อการเป็นโรคสมองเสื่อม จากการศึกษาของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ พบว่า ปัญหาการนอนไม่หลับหรือคุณภาพการนอนไม่ดี เป็นสาเหตุและตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดการสะสมของเบตาอะไมลอยด์ (Beta-amyloid) ซึ่งเป็นโปรตีนพิษที่คอยบีบเซลล์ประสาท ส่วนการวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโรเชสเตอร์ พบว่า การนอนหลับจะช่วยขับสารชนิดนี้ออกจากสมอง 

  1. โรคเบาหวาน

หากเรานอนไม่พอหรือนอนต่ำกว่า 6 ชั่วโมง แม้แต่นอนดึกตื่นสาย หลับๆตื่นๆ หรือคนที่ทำงานเป็นกะ ก็ส่งผลให้ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะการพักผ่อนไม่เพียงพอจะทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่ผิดปกติไป และส่งผลต่อการทำงานของตับอ่อน ซึ่งอาจส่งผลต่อภาวะดื้อต่ออินซูลินได้ เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ยิ่งใครที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้อยู่แล้ว ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงเข้าไปอีก ส่วนคนที่เป็นเบาหวานอยู่แล้วต้องยิ่งระวัง เพราะอาจเกิดภาวะร่างกายดื้ออินซูลินจากการนอนไม่พอได้เช่นกัน

  1. โรคความดันโลหิตสูง

ภาวะนอนไม่หลับ หนึ่งในตัวการที่ก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ยิ่งนอนไม่หลับ เราก็ยิ่งรู้สึกเครียด รู้สึกกดดัน เป็นที่ทราบกันดีว่าความเครียดเป็นสาเหตุของการเกิดโรคร้ายหลายชนิด จากการวิจัยพบว่า คนที่ไม่ได้นอนติดต่อกันเป็นเวลา 88 ชั่วโมง จะมีความดันเลือดสูงมากผิดปกติ

  1. โรคอ้วน

หลายคนที่ทำงานจนดึก บางคนติดซีรีย์หนักจนไม่ยอมนอน นอกจากจะเป็นการพักผ่อนน้อยแล้ว ยังส่งผลต่อระบบเผาผลาญพลังงานของร่างกายอีกด้วย จากงานวิจัยพบว่าคนที่นอนน้อยกว่า 7 ชั่วโมงต่อวัน มีแนวโน้มที่น้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ที่นอนน้อยจะมีสารเคมีเลปติน (Leptin) อยู่ในระดับต่ำ และมีฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin) อยู่ในระดับสูง จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไม ยิ่งดึก ยิ่งหิว กลายเป็นว่าเราสะสมพลังงานเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น ในขณะที่ระบบเผาผลาญทำงานได้น้อยลง จนทำให้น้ำหนักเกิน เสี่ยงเป็นโรคอ้วนได้นั่นเอง ในทางกลับกันพฤติกรรมนอนมากเกินไปก็ยังสามารถเกิดภาวะโรคอ้วนได้

อาการนอนไม่หลับ ถือเป็นภัยร้ายที่ทำลายสุขภาพโดยที่เราอาจไม่รู้ตัว บางโรคมีจุดเริ่มต้นมาจากการนอนไม่เพียงพอ แถมยังส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอีกด้วย เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ควรหันมาใส่ใจดูแลตัวเองมากขึ้น เพราะสุขภาพเป็นเรื่องที่เราต้องลงทุน และเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด 

สนใจผลิตภัณฑ์อาหารเสริมนวัตกรรมจากธรรมชาติ บรรเทาปัญหานอนไม่หลับ! นอนหลับยาก! สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: https://healthykare.com/product/อาหารเสริมนอนหลับ-zzzzspins/?ref=990028

ติดตามข่าวสารต่างๆ ผ่านทางโซเชียลมีเดียได้ที่นี่ค่ะ

9 โรคร้ายที่มาพร้อมกับอาการนอนไม่หลับ
9 โรคร้ายที่มาพร้อมกับอาการนอนไม่หลับ

ที่มา: 

www.rajavithi.go.th

www.wongkarnpat.com

www.dmh.go.th

6 ความคิดเห็น

  1. […] ปัญหาการนอนหลับเป็นอีกปัญหาสำคัญในผู้สูงอายุไม่ว่าจะเป็นการนอนหลับยากหรือการตื่นกลางดึกแล้วตาค้างตลอดคืน ลองทานอาหารที่ทำมาจากขี้เหล็กหรือระย่อม จะช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น […]

  2. […] “ปัญหานอนไม่หลับ” กลายเป็นปัญหาใหญ่สำหรับคนยุคใหม่ และพบมากขึ้นเมื่ออายุเยอะขึ้น ความผิดปกติที่เกิดจากการนอน หากปล่อยไว้เป็นเวลานาน ผลที่ตามมานอกจากจะทำให้ร่างกายพักผ่อนได้ไม่เต็มที่แล้ว ยังกระทบต่อสุขภาพและจิตใจอีกด้วย อาการนอนไม่หลับ ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะช่วงเริ่มต้นของกระบวนการนอนหลับเท่านั้น แต่ยังมีปัญหาอื่นที่รบกวนระหว่างการนอนเช่นกัน มาดูกันว่าพฤติกรรมการนอนหลับแบบไหน อาจเป็นสัญญาณเตือนความผิดปกติบางอย่างที่ร่างกายกำลังพยายามบอกคุณอยู่ […]

  3. […] การนอนหลีบให้เพียงพอก็ยังคงเป็นหนึ่งในเคล็ดลับที่สำคัญที่ช่วยทำให้คุณคลายความเหนื่อยล้าได้เช่นกันครับ เพราะในช่วงเวลาแห่งการนอนหลับนอกจากจะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายได้มีโอกาสซ่อมแซมฟื้นฟูตัวเอง ก็ยังเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายจะได้สะสมพลังงานเพื่อไว้ใช้งานสำหรับกิจกรรมในวันรุ่งขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ที่มีปัญหาเรื่องการนอนจึงรู้สึกอ่อนเพลียอยู่แทบจะตลอดเวลาครับ แต่กระนั้นการนอนหลับที่ดีใช่ว่าคุณจะนอนให้ครบ 8 ชั่วโมงก็เป็นอันใช้ได้ แต่คุณจำเป็นต้องคำนึงถึงประสิทธิภสาพในการนอนด้วยเช่นการเข้านอนแต่หัวค่ำและนอนหลับสนิทไปจนถึงเช้า การนอนเช่นนี้จึงจะถือว่าเป็นการนอนหลับที่มีประสิทธิภาพและทำให้คุณมีเช้าวันใหม่ที่สดชื่นแจ่มใสครับ […]

  4. […] การนอนหลีบให้เพียงพอก็ยังคงเป็นหนึ่งในเคล็ดลับที่สำคัญที่ช่วยทำให้คุณคลายความเหนื่อยล้าได้เช่นกันครับ เพราะในช่วงเวลาแห่งการนอนหลับนอกจากจะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายได้มีโอกาสซ่อมแซมฟื้นฟูตัวเอง ก็ยังเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายจะได้สะสมพลังงานเพื่อไว้ใช้งานสำหรับกิจกรรมในวันรุ่งขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ที่มีปัญหาเรื่องการนอนจึงรู้สึกอ่อนเพลียอยู่แทบจะตลอดเวลาครับ แต่กระนั้นการนอนหลับที่ดีใช่ว่าคุณจะนอนให้ครบ 8 ชั่วโมงก็เป็นอันใช้ได้ แต่คุณจำเป็นต้องคำนึงถึงประสิทธิภสาพในการนอนด้วยเช่นการเข้านอนแต่หัวค่ำและนอนหลับสนิทไปจนถึงเช้า การนอนเช่นนี้จึงจะถือว่าเป็นการนอนหลับที่มีประสิทธิภาพและทำให้คุณมีเช้าวันใหม่ที่สดชื่นแจ่มใสครับ […]

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here