6 พฤติกรรมเสี่ยงเบาหวาน จุดเริ่มต้นของสารพัดโรคร้ายรุมเร้า

5
1867
6 พฤติกรรมเสี่ยงเบาหวาน

โรคเบาหวาน เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรคร้ายใกล้ตัวที่หลายคนมักไม่ใส่ใจ คิดว่าเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับคนสูงวัยเท่านั้น ในแต่ละปีมีจำนวนผู้ป่วยพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ คาดการณ์ว่าภายในปี 2583 จะเพิ่มสูงถึง 5.3 ล้านคน  โรคนี้พบได้ตั้งแต่เด็กเล็กไปจนถึงผู้สูงอายุ ในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้นมีภาวะความรุนแรงของโรคและรักษายากกว่าผู้ป่วยสูงอายุ บางคนไม่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคเบาหวานด้วยซ้ำ! แถมยังมีหลากหลายความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับเบาหวานที่สร้างความสับสนเข้าไปอีก ถ้าไม่อยากเผชิญกับความเสี่ยงต่อการเกิดโรค มาดูกันว่าพฤติกรรมใดที่ควรหลีกเลี่ยง

6 พฤติกรรมเสี่ยงเบาหวาน

  1. อาหารหวาน มัน เค็ม แบบจัดหนัก

“หวานจัด มันจัด เค็มจัด” รสชาติอาหารที่ถูกปากใครหลายคน แต่ไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพเท่าไหร่นัก รวมถึงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง น้ำอัดลม น้ำผลไม้กล่อง ครีม เนย ชีส และอาหารที่มีแคลอรี่สูง พฤติกรรมการบริโภคอาหารเหล่านี้เป็นประจำ ล้วนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน เมื่อมีไขมันสะสมในร่างกายมาก ทำให้ตับอ่อนทำงานหนัก ส่งผลให้ผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยลง น้ำตาลก็จะตกค้างอยู่ในกระแสเลือด ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ที่อันตรายถึงชีวิต และโรคเรื้อรังอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย

  1. กินอาหารมื้อดึกเป็นประจำ 

พฤติกรรมการการกินช่วงดึก ซึ่งก็คือกินอาหารตั้งแต่ช่วง 22.00 เป็นต้นไป ไม่ว่าจะกินตามอารมณ์ นอนดึกแล้วรู้สึกหิว นอกจากจะส่งผลโดยตรงต่อร่างกาย เช่น โรคกรดไหลย้อน โรคอ้วน และเป็นปัจจัยทำให้เกิดโรคเรื้อรังอีกด้วย การกินอาหารตอนดึกติดต่อกันบ่อยๆ เป็นการรบกวนการหลั่งอินซูลิน ยิ่งกระตุ้นให้ร่างกายผลิตอินซูลินมากขึ้น เพื่อเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตและไขมันที่กินเข้าไป เมื่อร่างกายได้รับพลังงานส่วนเกิน จะเกิดการสะสมไขมันตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย การปล่อยให้น้ำหนักตัวเยอะเกินไป เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง ส่วนใครที่มีรูปแบบชีวิตทำงานช่วงดึก หากรู้สึกหิวควรเลือกอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำ แต่ให้ประโยชน์สูง อย่างผลไม้รสชาติไม่หวาน แทนที่จะเป็นขนมปัง

  1. ความเครียดสะสม

เราต่างรู้ดีว่า “ความเครียด” ไม่เคยส่งผลดีต่อใคร เป็นปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรค กระทบต่อระบบร่างกายหลายส่วน ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง แต่บางครั้งก็อดรู้สึกเครียดไม่ได้  เนื่องจากภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ วิถีชีวิตที่มักจะเคร่งเครียดกับเรื่องต่างๆ จำเป็นต้องหาวิธีจัดการก่อนที่จะกลายเป็นความเครียดสะสม เพราะเวลาที่คนเรารู้สึกเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมา ซึ่งจะไปกระตุ้นให้ร่างกายปล่อยพลังงานออกมาในรูปแบบน้ำตาล ยิ่งเครียด ระดับน้ำตาลก็จะยิ่งสูง มีส่วนทำให้เป็นโรคเบาหวาน สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้อยู่แล้ว ยิ่งเป็นการเพิ่มระดับการเป็นโรคให้มากขึ้นด้วย

  1. นอนดึกเป็นประจำ

การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างมาก หนึ่งในสาเหตุของโรคเบาหวาน จากการศึกษาพบว่า คนที่นอนดึกเป็นประจำ หรือคุณภาพการนอนไม่ดี ส่งผลให้ร่างกายมีระดับน้ำตาลสะสมในเลือดสูง  เนื่องจากร่างกายมนุษย์ จะทำงานสัมพันธ์กับนาฬิกาชีวภาพ ซึ่งเป็นระบบสำคัญของร่างกายในการควบคุมการหลั่งฮอร์โมนตามช่วงเวลาต่างๆ การนอนดึกทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่ผิดปกติไป ส่งผลต่อการทำงานของตับอ่อน อาจเกิด “ภาวะดื้อต่ออินซูลิน” ซึ่งอินซูลินไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้เป็นปกติเช่นเดิมได้ เป็นการเพิ่มความเสี่ยงในระยะยาว นอกจากนี้การพักผ่อนไม่เพียงพอ ยังส่งผลให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลมากขึ้นอีกด้วย 

  1. ใช้ชีวิตสุดเหวี่ยง ดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่หนัก

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุของระดับน้ำตาลในเลือดสูง อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต ที่จะแปรสภาพเป็นน้ำตาล ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เมื่อแอลกอฮอล์ตกค้างในกระแสเลือด จะขัดขวางไม่ให้ร่างกายเผาผลาญไขมันไปเป็นพลังงาน ตับจะทำงานหนักเกินกำลัง จนกลายเป็นภาวะไขมันเกาะตับ และเกิดไขมันสะสมตามร่างกายจนอ้วนลงพุง อาจเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน หากสูบบุหรี่ร่วมด้วย จะยิ่งส่งผลเสียต่อร่างกาย เพราะทำให้การทำงานของอินซูลินลดลง ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ในผู้ป่วยเบาหวาน ทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลได้ยากขึ้น

  1. ละเลยการออกกำลังกาย

วิถีชีวิตที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกรายล้อม ทำให้หลายคนขยับตัวน้อยลง ใช้เวลานั่งอยู่หน้าจอทีวีหรือสมาร์ทโฟนนานขึ้น ในขณะที่ทานอาหารมากกว่าเดิม ยิ่งจ้องจอ ยิ่งทานเพลิน ส่งผลให้มีน้ำหนักตัวมากขึ้น ไขมันสะสมเพิ่มขึ้น เป็นเหตุให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรัง และความเสื่อมของอวัยวะอื่นๆ ตามมา การเคลื่อนไหวร่างกายบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน ออกกำลังกายเป็นประจำ นอกจากจะช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพร่างกายให้แข็งแรง และช่วยให้สุขภาพดีแล้ว ยังป้องกันความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน ช่วยให้ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลิน ควบคุมไม่ให้ระดับน้ำตาลสูงเกินกว่าปกติ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดโดยเผาผลาญให้กลายเป็นพลังงาน เพื่อให้ร่างกายนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสมมีส่วนสำคัญในการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน และโรคอื่นๆ ตามมา เราต้องมีความรับผิดชอบต่อสุขภาพของตัวเอง ตระหนักถึงการมีพฤติกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพ เริ่มดูแลสุขภาพโดยปรับพฤติกรรมการกิน การนอน และการออกกำลังกาย ซึ่งเป็นวิธีการป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเกิด “โรคเบาหวาน” ที่ดีและทำได้ง่ายที่สุดสำหรับทุกคน

สมุนไพรอาหารเสริม สารสกัดจากธรรมชาติ 100% มีงานวิจัยรับรอง อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: https://healthykare.com/product/สมุนไพรรักษาเบาหวาน?ref=990028

ติดตามข่าวสารต่างๆ ผ่านทางโซเชียลมีเดียได้ที่นี่ค่ะ

6 พฤติกรรมเสี่ยงเบาหวาน
6 พฤติกรรมเสี่ยงเบาหวาน

5 ความคิดเห็น

  1. […] “สายตาแย่ลง ตาพร่า ตามัว มองภาพไม่ชัดเจน การมองเห็นค่อย ๆลดลงจนตามืดบอดในที่สุด” ทั้งหมดนี้คือภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นเมื่อคุณไม่ยอมควบคุมระดับน้ำตาลและปล่อยให้ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงมากเกินไปเป็นระยะเวลานาน เพราะน้ำตาลจะเข้าไปทำลายเส้นเลือดฝอยที่เลี้ยงจอประสาทตา รวมถึงเส้นประสาทที่เลี้ยงจอประสาทตานี้ นอกจากนี้เมื่อร่างกายขับน้ำตาลส่วนเกินที่มากเกินไปออกมาที่เลนส์ตา น้ำตาลก็จะไปทำลายเลนส์ตาทำให้มีโอกาสเกิดเป็นต้อกระจก ต้อหิน รวมถึงประสาทตาเสื่อมได้ครับ และหากปล่อยไว้โดยไม่จัดการอะไรเลยก็อาจส่งผลให้การมองเห็นของคุณแย่ลงเรื่อย ๆไปจนถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นได้ในที่สุดครับ ภาวะแทรกซ้อนทางสายตานี้ไม่มีทางรักษาให้หายขาด แต่สามารถชะลอไม่ให้เกิดความผิดปกติได้ก็ด้วยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติครับ […]

  2. […] นอกจากการตรวจสุขภาพประจำปี สุขภาพทางสายตาก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คุณควรใส่ใจเข้ารับการตรวจอย่างสม่ำเสมอครับ เพราะมีโรคทางสายตาจำนวนไม่น้อยเลยที่แม้จะมีความผิดปกติเกิดขึ้นแต่ก็แทบไม่แสดงอาการใด ๆออกมาจนทำให้เราแทบไม่รู้ว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นแล้วนอกจากจะทำการตรวจเช่นโรคต้อกระจกหรือโรคจอประสาทตาเสื่อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีโรคประจำตัวบางอย่างที่อาจส่งผลต่อสายตาของคุณเช่นโรคเบาหวาน ดังนั้นการตรวจสุขภาพสายตาเป็นประจำจะช่วยให้คุณทราบความผิดปกติที่เกิดขึ้นแต่เนิ่น ๆเพื่อจะได้หาทางป้องกันรักษาต่อไป […]

  3. […] “สายตาแย่ลง ตาพร่า ตามัว มองภาพไม่ชัดเจน การมองเห็นค่อย ๆลดลงจนตามืดบอดในที่สุด” ทั้งหมดนี้คือภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นเมื่อคุณไม่ยอมควบคุมระดับน้ำตาลและปล่อยให้ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงมากเกินไปเป็นระยะเวลานาน เพราะน้ำตาลจะเข้าไปทำลายเส้นเลือดฝอยที่เลี้ยงจอประสาทตา รวมถึงเส้นประสาทที่เลี้ยงจอประสาทตานี้ นอกจากนี้เมื่อร่างกายขับน้ำตาลส่วนเกินที่มากเกินไปออกมาที่เลนส์ตา น้ำตาลก็จะไปทำลายเลนส์ตาทำให้มีโอกาสเกิดเป็นต้อกระจก ต้อหิน รวมถึงประสาทตาเสื่อมได้ครับ และหากปล่อยไว้โดยไม่จัดการอะไรเลยก็อาจส่งผลให้การมองเห็นของคุณแย่ลงเรื่อย ๆไปจนถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นได้ในที่สุดครับ ภาวะแทรกซ้อนทางสายตานี้ไม่มีทางรักษาให้หายขาด แต่สามารถชะลอไม่ให้เกิดความผิดปกติได้ก็ด้วยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติครับ […]

  4. […] โรคเบาหวานพบได้ตั้งแต่เด็กไปจนถึงวัยสูงอายุ โดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงานอายุ 35 ปีขึ้นไปที่มีภาวะอ้วนลงพุง มีความเสี่ยงสูง นอกจากปัจจัยภายในที่ก่อให้เกิดโรค ส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น ชอบทานอาหารรสจัด ชอบกินของทอด ของมัน ความเครียด ไม่ยอมออกกำลังกาย ดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่หนัก […]

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here