7 วิธีเติมไฟให้ตัวเอง เพิ่มพลังการใช้ชีวิตสำหรับวัยทำงาน

0
1893
วิธีเติมไฟให้ตัวเอง

“วัยทำงาน” เป็นช่วงวัยที่ต้องใช้พลังกายและพลังใจในการทุ่มเทให้กับการทำงานอย่างหนัก เพื่อไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ในอนาคต สำหรับบางคนแค่ทำงานอย่างเดียวก็ถือว่าสร้างความเครียดมากพอแล้ว หากมีเรื่องอื่นมากระทบ เช่น ปัญหาสุขภาพ ปัญหาความสัมพันธ์ ปัญหาการเงิน ย่อมเพิ่มความเครียดหนักเข้าไปอีกหลายเท่า อาจทำให้รู้สึกอยากที่ถอดใจหรือหมดพลังในการทำงานไปง่ายๆ เพื่อเพิ่มพลังการใช้ชีวิตในทุกๆ ด้านสำหรับวัยทำงาน เรามีเคล็ดลับดีๆ ในการเติมไฟ เติมกำลังใจให้ตัวเอง มาฝากกันค่ะ

7 วิธีเติมไฟให้ตัวเอง

  1. นึกถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ตอนแรก

เมื่อรู้สึกท้อใจ หมดไฟในการทำงาน ให้ลองย้อนนึกไปถึงเป้าหมายที่ตั้งใจไว้แต่แรก อะไรคือเหตุผลที่ทำให้เราตัดสินใจเลือกทำในสิ่งนี้ แล้วถ้าหยุดทำตอนนี้จะส่งผลอย่างไรกับชีวิตเรา การมองย้อนกลับไปจะช่วยสร้างแรงฮึด และแรงผลักดันให้กับตัวเองเพื่อที่จะก้าวต่อไป เมื่อเข้าใกล้เป้าหมายไปทีละนิด เราก็จะรู้สึกภูมิใจในตัวเอง  และมีกำลังที่จะทำให้ต่อไปให้สำเร็จ

  1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

นอกจากจะเป็นการดูแลสุขภาพกายให้แข็งแรงแล้ว ในทางสรีระวิทยาการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ยังส่งผลดีต่อสมองอีกด้วย เพราะในขณะที่กำลังออกกำลังกาย ร่างกายจะหลังสารเอนดอร์ฟิน (Endorphin) เป็นสารที่ช่วยให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย แต่ต้องเป็นการออกกำลังกายที่พอเหมาะ เมื่อร่างกายแอคทีฟขึ้นก็จะส่งผลต่ออารมณ์ด้านบวกเพิ่มขึ้น จิตใจสงบขึ้น สามารถจัดการกับสารพัดปัญหารุมเร้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อสมองปลอดโปร่ง ก็ช่วยให้คิดไอเดียใหม่ๆ ได้

  1. ฝึกผ่อนคลายจิตใจให้สมองโล่ง

ลองสังเกตว่าในช่วงเวลาที่เราต้องการหาไอเดียใหม่ๆ หรือคิดหาทางแก้ไขปัญหา การหมกหมุ่นอยู่กับความคิดของตัวเอง นอกจากจะไม่ได้ผลแล้ว ยังเป็นการสร้างความเครียดให้เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวอีกด้วย เพราะสมองและจิตใจต่างก็ต้องการความผ่อนคลายเช่นเดียวกันกับร่างกายของเรา  หาเวลาให้ได้พักผ่อนบ้าง ลองวางมือจากสิ่งที่ทำอยู่สักพัก หันไปทำกิจกรรมอื่นที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย บางทีนี่อาจทำให้เรามองเห็นเรื่องราวอื่นๆ ชัดเจนขึ้น หรือทำให้ค้นพบว่าอะไรคือความสุขที่แท้จริงสำหรับเรา 

  1. ใช้ชีวิตให้กระฉับกระเฉงอยู่เสมอ

รูปแบบชีวิตแบบเดิมๆ บางครั้งอาจสร้างความน่าเบื่อได้เช่นกัน หากเอาแต่หมกตัวอยู่ในบ้านเป็นเวลานานๆ นอกจากจะรู้สึกห่อเหี่ยวแล้ว อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตในระยะยาวได้เช่นกัน จึงต้องหากิจกรรมที่เป็นการกระตุ้นสมองให้ไม่รู้สึกเฉื่อยชา แค่ออกไปซื้อของหน้าปากซอย ไปพบปะพูดคุยกับคนอื่นบ้าง แม้จะฟังดูธรรมดา แต่ก็เป็นวิธีที่ช่วยให้รู้สึกดีขึ้นมาได้ สำหรับบางคนแล้ว ต้องรวบรวมความกล้าอย่างมากในการพูดคุยกับคนแปลกหน้า แต่หากได้เริ่มแล้วก็จะมีครั้งต่อๆ ไป เป็นการสร้างความสุขจากเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่ให้ผลลัพธ์ดีเกินคาด

  1. พาตัวเองไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี

สภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้จำกัดอยู่แค่ที่พักอาศัยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสภาพแวดล้อมการทำงาน และสังคมอีกด้วย การได้พูดคุยกับคนที่มีความคิด ทัศนคติที่ดี มีพลังงานล้นเหลืออย่างน่าทึ่ง เป็นการช่วยสร้างพลังใจได้ดีทีเดียว หากรอบตัวเรารายล้อมไปด้วยคนที่มองโลกในแง่ร้าย พูดจาไม่ให้เกียรติกัน พูดแต่ในเรื่องที่ไม่สร้างสรรค์ ควรเอาตัวเองหลีกหนีให้ห่างจากสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ ออกห่างจากคนคิดลบ มีอคติกับทุกเรื่องในชีวิต ส่วนตัวเราเองก็ต้องคอยปรับทัศนคติให้เป็นคนที่มองโลกตามความเป็นจริง เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ตลอด ไม่ยึดติด 

  1. ตามหาแรงบันดาลใจใหม่ๆ 

แรงบันดาลใจดีๆ เกิดขึ้นได้เสมอ อยู่ที่ว่าเราสามารถมองเห็นหรือไม่ เพราะชีวิตเต็มไปด้วยเรื่องราวอีกมากมายให้ค้นหา หลากหลายมุมที่เราไม่เคยเห็น การใช้กิจวัตรประจำวันแบบเดิมๆ ไปสถานที่เดิมๆ อยู่กับสิ่งแวดล้อมแบบเดิมๆ นอกจากจะเป็นการปิดกั้นโอกาสใหม่ๆ สำหรับตัวเองแล้ว อาจทำให้เราไม่มีความสุขกับสิ่งที่ทำอยู่เลย ลองออกไปเปิดหูเปิดตาหรือลองทำอะไรที่ไม่เคยทำดูบ้าง เป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ให้กว้างขวางขึ้น เผื่อว่าการเดินทางหรือลงมือทำอะไรในครั้งนั้น อาจเป็นจุดเปลี่ยนที่เป็นจุดเริ่มต้นของสิ่งดีๆ ในชีวิต ที่เราเองก็คาดไม่ถึงเช่นกัน

  1. นึกถึงเรื่องดีๆ ที่เคยเกิดขึ้น

เมื่อรู้สึกเหนื่อยล้าจนอยากจะถอดใจ หมดไฟในการทำงาน ลองนึกถึงเรื่องดีๆ ที่เคยเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านมาไม่นาน ความสำเร็จเล็กๆ น้อยๆ จากงานที่ทำ ความประทับใจต่อตัวบุคคล อะไรก็ตามที่พอนึกถึงทีไรก็มีความสุขทุกที ข้อควรระวังคือ อย่ายึดติดกับความสำเร็จในอดีต เพราะอาจนำมาเปรียบเทียบกับปัจจุบันแล้วทำให้รู้สึกท้อได้ แต่หากรู้สึกว่าที่ผ่านมาแทบไม่มีเรื่องราวดีๆ เกิดขึ้นเลย ก็ต้องมาประเมินดูว่าสาเหตุที่แท้จริงคืออะไร ตนเองเหมาะกับงานที่ทำอยู่หรือไม่ และควรทำอย่างไร

บางช่วงของการทำงานที่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย เครียด ท้อแท้ และขาดแรงจูงใจ ส่งผลให้ขาดความสมดุลระหว่างการใช้ชีวิตและการทำงาน ต้องรีบหาทางรับมือกับปํญหาเพื่อจัดการกับความรู้สึกในแง่ลบที่เกิดขึ้น เริ่มจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต เพื่อไม่ให้สุขภาพกายและใจทรุดโทรมไปมากกว่านี้ และเป็นการเติมเต็มไฟที่กำลังมอดให้ลุกโชนขึ้นอีกครั้ง

ติดตามข่าวสารต่างๆ ผ่านทางโซเชียลมีเดียได้ที่นี่ค่ะ

วิธีเติมไฟให้ตัวเอง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here